วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การเรียกชื่อ คีโตน


การเรียกชื่อคีโตน

การเรียกชื่อคีโตน จะตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเหมือนแอลดีไฮด์ แล้วลงท้ายเสียงด้วย อาโนน (anone)

จำนวน C
สูตรโครงสร้างแบบย่อ
สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
3
CH3COCH3
โพรพาโนน (propanone)
4
CH3COCH2CH3
บิวทาโนน (butanone)
5
CH3COCH2CH2CH3
เพนทาโนน (pentanone)
6
CH3COCH2CH2CH2CH3
เฮกซาโนน (hexanone)

สมบัติของคีโตน

1. คีโตนเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับอลดีไฮด์ เช่น

โพรพาโนน (propanone)

โพรพานาล (propanal)


2. โมเลกุลเล็ก ๆ ละลายน้ำได้ เมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้นจะละลายน้ำได้น้อยลง

3. จุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเนื่องจากมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงขึ้น

จุดเดือดและสภาพละลายได้ที่ 20OC  ของคีโตนบางชนิด

สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
จุดเดือด (OC)
สภาพละลายได้ที่ 20OC
(g / น้ำ 100 g)
CH3COCH3
โพรพาโนน (propanone)
56.1
ละลาย
CH3COCH2CH3
บิวทาโนน (butanone)
79.6
26.0
CH3COCH2CH2CH3
เพนทาโนน (pentanone)
102.3
6.3
CH3COCH2CH2CH2CH3
เฮกซาโนน (hexanone)
127.2
2.0

4. เมื่อเปรียบเทียบจุดเดือดของแอลเคน แอลดีไฮด์ คีโตน และแอลกอฮอล์ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน พบว่าจุดเดือดจะเรียงดับดังนี้



ชื่อ
สูตรโครงสร้าง
มวลโมเลกุล
จุดเดือด (OC)
บิวเทน
CH3CH2CH2CH3
58
– 0.5
โพรพานาล
CH3CH2CHO
58
48.0
โพรพาโนน
CH3COCH3
58
56.1
โพรพานอล
CH3CH2CH2OH
60
97.2

แอลดีไฮด์และคีโตนมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคน เพราะแอลดีไฮด์และคีโตนเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าแอลเคนซึ่งเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เนื่องจากแอลดีไฮด์และคีโตนไม่มีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง จึงทำให้มีจุดเดือดต่ำกว่าแอลกอฮอล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น