วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อสอบเคมี


แนวข้อสอบ เคมี

1. แก๊สชนิดหนึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจน จากการทดลองพบว่ามวลโมเลกุลชนิดนี้มี
ค่าประมาณ 50 และมีปริมาณไนโตรเจนประมาณ 30% โดยมวลโมเลกุลของแก๊สชนิดนี้ประกอบ
ด้วยออกซิเจนกี่อะตอม(ดูเฉลย)
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4
2. จากการวิเคราะห์สารประกอบ Fe(SCN)3 .xH2O พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 19 โดย มวล
สารประกอบนี้มีกำมะถันร้อยละเท่าใด(ดูเฉลย)
1. 11.26 2. 22.53 3. 33.80 4. 45.07
3. กรดซัลฟิวริก 49 g มี H , S และ O อย่างละกี่อะตอม ตามลำดับ(ดูเฉลย)
1. 3.01 x 1022 6.02 x1022 1.2 x1023
2. 3.01 x 1022 1.2 X1023 6.02 x 1022
3. 6.02 x1022 3.01 x1022 1.2 x 1023
4. 6.02 x1022 1.2 x1023 3.01 x1022
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->ในการวิเคราะห์ผักบุ้ง 100 g พบว่ามีตะกั่ว 0.208 ส่วนในล้านส่วน ผักบุ้งจำนวนนี้มีตะกั่วกี่อะตอม
( Pb= 207) (ดูเฉลย)
1. 6.02 x 1014 2. 6.02 x 1016 3. 6.02 x 1020 4. 6.02 x 1022
5. จากสูตรของ NaClO3 , SiCl4 , CO2 , Li2CO3 จงเขียนสูตรของสารประกอบต่อไปนี้ เรียงตามลำดับ
จากเจอร์เมเนียม (IV) โบรไมด์
โซเดียมซิลิเคต
ซิลิคอน (IV) ซัลไฟด์
โพแทสเซียมโบรเมต(ดูเฉลย)
1. GeBr2 , NaSiO3 , SiS3 , K2BrO3 2. GeBr4 , Na2SiO4 , Si4S , KbrO3
3. GeBr2 , Na2SiO4 , SiS2 , KbrO3 4. GeBr4 , Na2SiO3 , SiS2 , KbrO3
<!--[if !supportLists]-->6 <!--[endif]--> สาร X 5 g ละลายในเบนซีน 20 g สารละลายเดือดที่อุณหภูมิ 83.3 <!--[if !vml]--><!--[endif]-->C จุดเดือดของ X และเบนซีน
เท่ากับ 300 และ 80.10 <!--[if !vml]--><!--[endif]-->C ตามลำดับ ถ้า Kb ของเบนซีนเท่ากับ 2.53 <!--[if !vml]--><!--[endif]-->C X มีมวลโมเลกุลเท่าใด
(ดูเฉลย)
1. 20 2. 198 3. 316 4. 396
7. น้ำเกลือซัลเฟตสูตร MSO4.nH2O หนัก 5.0 g มาละลาย

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การเรียกชื่อ คีโตน


การเรียกชื่อคีโตน

การเรียกชื่อคีโตน จะตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเหมือนแอลดีไฮด์ แล้วลงท้ายเสียงด้วย อาโนน (anone)

จำนวน C
สูตรโครงสร้างแบบย่อ
สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
3
CH3COCH3
โพรพาโนน (propanone)
4
CH3COCH2CH3
บิวทาโนน (butanone)
5
CH3COCH2CH2CH3
เพนทาโนน (pentanone)
6
CH3COCH2CH2CH2CH3
เฮกซาโนน (hexanone)

สมบัติของคีโตน

1. คีโตนเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับอลดีไฮด์ เช่น

โพรพาโนน (propanone)

โพรพานาล (propanal)


2. โมเลกุลเล็ก ๆ ละลายน้ำได้ เมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้นจะละลายน้ำได้น้อยลง

3. จุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเนื่องจากมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงขึ้น

จุดเดือดและสภาพละลายได้ที่ 20OC  ของคีโตนบางชนิด

สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
จุดเดือด (OC)
สภาพละลายได้ที่ 20OC
(g / น้ำ 100 g)
CH3COCH3
โพรพาโนน (propanone)
56.1
ละลาย
CH3COCH2CH3
บิวทาโนน (butanone)
79.6
26.0
CH3COCH2CH2CH3
เพนทาโนน (pentanone)
102.3
6.3
CH3COCH2CH2CH2CH3
เฮกซาโนน (hexanone)
127.2
2.0

4. เมื่อเปรียบเทียบจุดเดือดของแอลเคน แอลดีไฮด์ คีโตน และแอลกอฮอล์ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน พบว่าจุดเดือดจะเรียงดับดังนี้



ชื่อ
สูตรโครงสร้าง
มวลโมเลกุล
จุดเดือด (OC)
บิวเทน
CH3CH2CH2CH3
58
– 0.5
โพรพานาล
CH3CH2CHO
58
48.0
โพรพาโนน
CH3COCH3
58
56.1
โพรพานอล
CH3CH2CH2OH
60
97.2

แอลดีไฮด์และคีโตนมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคน เพราะแอลดีไฮด์และคีโตนเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าแอลเคนซึ่งเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เนื่องจากแอลดีไฮด์และคีโตนไม่มีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง จึงทำให้มีจุดเดือดต่ำกว่าแอลกอฮอล์

คาร์บอนเครดิต



"คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)"
..เรามาทำความรู้จักกับ คาร์บอนเครดิต กันซักหน่อยแล้วกันนะคะ คาร์บอนเครดิต นั้นก็คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือที่เรียกสั้นว่าๆ CDM (Clean Development Mechanism) ซึ่งคุณๆรู้กันมั้ยคะว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็นตลาดที่ต้องการคาร์บอนเครดิตสูงมาก เนื่องจากมีพันธกรณีที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระหว่างปี 2551 – 2555 ตามที่ระบุไว้ในพิธีสารเกียวโต
ในยุคที่ซีเอสอาร์มาแรง กิจการทุกแห่ง มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ขณะนี้ประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ ในใจผู้บริโภคทุกคนก็ไม่หนีเรื่องของภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ฯลฯ ออกมามากจนเกินไป ทำให้อุณหภูมิบนโลกสูงขึ้น ก่อให้เกิดความแปรปรวนใน สภาพภูมิอากาศของโลกจนกระทบกับการดำรงชีพของมนุษย์นั่นเอง
เมื่อภยันตรายคืบคลานมาใกล้ตัวมากขึ้น ทำให้ชาติมหาอำนาจต้องหันหน้าเข้าหากัน และทำความตกลงใน "พิธีสารเกียวโต" (Kyoto Protocol) ซึ่งสัญญาร่วมกันว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันลดการปล่อย ปริมาณคาร์บอนลงประมาณ 5.2% ภายในปี 2555 หากประเทศใดไม่สามารถดำเนินการ ตามข้อตกลงได้ ก็จะมีค่าปรับถึงตันละประมาณกว่า 3,000 บาททีเดียว

 
          รู้จัก "คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)" 
คาร์บอนเครดิต หมายถึงสิ่งที่จะต้องจัดให้มีขึ้น เพื่อทดแทน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิบ (Fossil Fuel) ให้เป็นพลังงานในการแปรรูปสินค้าอุตสาหกรรม หรือขับเคลื่อนยานยนต์ นอกจากนี้ยังมีก๊าซอื่นที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) อันเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน (Global Warming) เช่นก๊าซมีเทน (CH4) ที่เกิดจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ (ก๊าซที่เกิดจากรากของต้นข้าว และการผายลมของสัตว์หรือ "ตดวัว") 
คาร์บอนเครดิตที่สำคัญคือแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เรียกว่า คาร์บอนซิงค์ (Carbon Sink หรืออ่างกักเก็บคาร์บอนฯ) อันได้แก่ป่าไม้ธรรมชาติ โดยพื้นที่ป่าสมบูรณ์ 1 เอเคอร์ (ประมาณ 2.5 ไร่) สามารถกักเก็บคาร์บอนฯ ได้ประมาณ 2 ตัน นอกจากนี้ การใช้พลังงานทดแทนเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ ก็อาจนำมาคำนวณเป็นเครดิตได้ โดยการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน 1 หน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) จะได้เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้กำลังมีการพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์ แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ให้สูงขึ้น และใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น สามารถดัดงอได้ โดยนำเทคโนโลยีระดับโมเลกุล หรือ นาโนเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ 
ปัจจุบันประเทศที่มีความจำเป็นต้องจัดหาหาคาร์บอนเครดิตมากที่สุด คือสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นพัฒนาแล้วที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Emission) ออกมามากที่สุด รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่นและจีน ส่วนไทยนอกจากจะยังไม่จำเป็นต้อง จัดหาคาร์บอนเครดิตเพิ่มเติม (แต่อาจจะต้องเตรียมการลด GHG เช่นมีเทนจากนาข้าว) แล้ว ยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากกองทุนคาร์บอนเครดิต เช่นของธนาคารโลกและหน่วยงาน ระดับประเทศ



คาร์บอนเครดิตจะเข้ามามีบทบาทเสมือน หนึ่งเป็นตัวแทนที่จะบอกว่า กิจการใดที่ไม่รักษา สภาพแวดล้อม ไม่มีเทคโนโลยีที่สะอาด ขาดประสิทธิภาพในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำให้ต้องปล่อยสารคาร์บอนออกมามากเกินไป จนทำให้เกิดมลพิษตามมาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งกิจการนั้นจะต้องโดนค่าปรับจำนวนมหาศาล ตามที่ตกลงกันไว้ เว้นแต่จะต้องไปหาคาร์บอนเครดิตเพิ่มเพื่อมาชดเชยกับการจัดการที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของตนนั่นเอง
กิจการเหล่านี้อาจจะไปตั้งโรงงานใหม่ที่มีเทคโนโลยีสะอาดเพื่อผลิตคาร์บอนเครดิตขึ้น มาเอง หรือไม่ก็ต้องไปติดต่อซื้อจากกิจการอื่นๆ ที่สามารถผลิตคาร์บอนเครดิตขึ้นมาเองได้ แต่ก็มิใช่ว่ากิจการใดๆ ก็จะมาเป็นผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตได้นะครับ จะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ อีกมากมายทีเดียว
เริ่มจากจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และต้องเข้าสู่ ระบบของทางสหประชาชาติก่อน นั่นคือต้อง ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานซีดีเอ็ม (clean development mechanism) หรือโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด
แล้วส่งเรื่องติดต่อไปยังองค์การสหประชาชาติเพื่อให้องค์กรกลางเข้ามาตรวจสอบ และให้ คำรับรองมาตรฐานของระบบการปฏิบัติงานว่า เข้าข่ายการดำเนินงานที่เหมาะสมสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จากนั้นองค์กรกลางจึงจะออกใบอนุญาตรับรองมาตรฐานให้ ที่มีชื่อเรียกว่า certified emission reductions (CER) แล้วจึงจะสามารถที่จะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตได้ครับ
ปัจจุบันมีราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตนี้ประมาณตันละ 300 บาท ซึ่งคาดการณ์กันว่า ราคาน่าจะพุ่งสูงขึ้นได้อีก หากมีการกำหนด เป้าหมายที่ท้าทายยิ่งขึ้น และมีการบังคับใช้ สนธิสัญญาดังกล่าวในวงกว้างทั่วโลก และปัจจุบันคาร์บอนเครดิตยังเป็นที่ต้องการอยู่มาก โดยเฉพาะในประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของโลก ที่ยังคงมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนอยู่มาก และไม่สามารถลดได้อย่างที่ต้องการในเวลาอันสั้นครับ
หากพิจารณาจากสถิติที่ผ่านมาไม่นาน ประเทศผู้ที่ปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศมากที่สุด เรียงตามลำดับก็คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งปล่อยออกมาถึง 5.7 พันล้านตันเลยทีเดียว รองลงมาก็จะเป็นฝั่งเอเชีย ที่กำลังถูกจับตามองอยู่ก็คือ จีน ตามมาด้วยรัสเซีย ญี่ปุ่น และอังกฤษครับ ดังนั้นประเทศเหล่านี้จึงถือเป็นผู้รับซื้อคาร์บอนเครดิตรายใหญ่ทีเดียว
ส่วนบ้านเราก็ถือเป็นผู้ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมามากรายหนึ่งครับ ปล่อยออกมาประมาณ 344 ล้านตัน หรือประมาณ 0.7% ของปริมาณการปล่อยคาร์บอนของทั้งโลก โดยภาคส่วนที่ปล่อยออกมามากที่สุด คือ ภาคการใช้พลังงาน ประมาณ 56% ตามมาด้วย ภาคการเกษตร 24.1% การทิ้งขยะและกากของเสีย 7.8% การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน 6.6% และภาคอุตสาหกรรมการผลิต 5.4%
จึงพอมองได้ไม่ยากว่า บ้านเราควรต้องมี การปรับปรุงพัฒนาทางด้านใดก่อนเพื่อน คงไม่หนีทางด้านของการกำจัด การทำไร่เลื่อนลอย การเผาป่า การกำจัดกากของเสียที่ไม่เหมาะสม การให้ความรู้ในการทำการเพาะปลูกที่ถูกวิธี รวมถึง การรณรงค์ใช้พลังงานที่สะอาด หากทุกโครงการมีการสนับสนุนให้เกิดได้อย่างชัดเจนก็น่าจะลด การปล่อยคาร์บอนไปได้มหาศาล และน่าจะเป็นผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตรายใหญ่ให้กับโลกได้ เท่ากับว่าได้ทั้งเงิน ทั้งกล่อง เพราะยังจะช่วยให้สภาพแวดล้อมของประเทศและโลกดีขึ้น และยังอาจจะเป็นการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
มีการคาดการณ์กันว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะผลิตก๊าซชีวภาพได้มากถึงหนึ่งพันล้านคิวบิกเมตรต่อปีทีเดียว หากทำได้เต็มประสิทธิภาพก็จะลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมันดิบไปได้จำนวนมาก ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทำให้ได้คาร์บอนเครดิตอีกจำนวนมหาศาล
และในขณะนี้ทั่วโลกมีการผลิตคาร์บอนเครดิตประมาณ 150 ล้านตันต่อปี ซึ่งประเทศที่เป็นผู้นำการผลิตคาร์บอนเครดิต คือ จีน ประมาณ 43% อินเดีย 15% ที่เหลือก็เป็นประเทศอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาศักยภาพของตน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งมีโครงการผ่านการรับรองมาตรฐานแล้วถึงกว่า 900 โครงการ แต่ในบ้านเราตอนนี้มีเพียงประมาณไม่ถึง 10 โครงการเท่านั้น ที่ผ่านการอนุมัติเสนอไปยังสหประชาชาติแล้ว ก็ถือว่ายังน้อยอยู่มากเมื่อเปรียบเทียบคู่แข่งเพื่อนบ้าน
ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนบ้านเราคงต้อง เตรียมพร้อมเร่งพัฒนาศักยภาพก่อนที่จะสาย เกินไป โดยหากจะรอถึงวันที่ประเทศไทยต้อง ถูกจำกัดโควตาด้วยแล้วอาจจะไม่ทันการ และคงทำให้ประเทศชาติได้รับผลกระทบอย่างมากทีเดียวครับ
ความร่วมมือของโลก
ในการแก้ไขปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความพยายามในการแก้ปัญหาการเพิ่มอุณหภูมิของโลกหรือที่เรียกว่าภาวะโลกร้อนนั้นมีมานานเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แต่เพิ่งจะมาสำเร็จผลอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในปี 1992 (พ.ศ.2535) ในรูปของกรอบอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC : United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1999 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2002

UNFCCC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันว่า ประเทศภาคีต่างตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันมีสาเหตุจากการมีปริมาณก๊าซบางชนิดที่เรียกว่า "ก๊าซเรือนกระจก" (GHGs : Green House Gases) ในชั้นบรรยากาศอยู่ในระดับที่มากจนเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effects) ดังนั้น จึงควรจะต้องหาทางรักษาเสถียรภาพความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่จะไม่เป็นอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศ และให้ระบบนิเวศสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามธรรมชาติ

ต่อมาในปี 1997 ในการประชุมสมาชิกภาคี UNFCCC ณ กรุงเกียวโต ได้มีการทำข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นมา กำหนดพันธกรณีและสร้างกลไกต่างๆ ที่จะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจังที่จะบรรลุเป้าหมายของ UNFCCC ในการรักษาระดับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

ซึ่งปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เป็นภาคีสมาชิกพิธีสารเกียวโตถึง 163 ประเทศ คิดเป็น 63.6% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

และประเทศไทยก็ได้ลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกแล้ว (มีประเด็นที่น่าเสียดายอยู่เล็กน้อยที่ปัจจุบันสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดี George W Bush ยังไม่เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกทั้งๆ ที่สหรัฐเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญผลักดันให้เกิดพิธีสารฉบับนี้ขึ้นในสมัยรัฐบาลคลินตัน)


พันธกรณีภายใต้พิธีสารเกียวโต
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก พิธีเกียวโตได้กำหนดพันธกรณีให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ พันธกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว 36 ประเทศ (หรือที่เรียกภายใต้พิธีสารว่า Annex I country) และพันธกรณีของประทศกำลังพัฒนา 118 ประเทศ (หรือที่เรียกภายใต้พิธีสารว่า Non-Annex I country)

สำหรับภาคีสมาชิกที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วนั้น มีหน้าที่ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในพิธีสาร โดยจะได้รับจัดสรรปริมาณก๊าซที่ตนเองสามารถปล่อยได้ในแต่ละปี (หรือที่เรียกว่า AAUs : Assigned Amount Units) และมีพันธะที่จะต้องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ภายในจำนวน AAUs ที่ได้รับ และ AAUs นี้เองที่เป็น "คาร์บอนเครดิต" ประเภทหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน

ส่วนภาคีสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย นั้น พิธีสารเกียวโตไม่ได้กำหนดให้มีหน้าที่ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องรายงานปริมาณการก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยในประเทศแต่ละปี (National Inventory) และ "พยายาม" หาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น

ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงยังไม่มี "คาร์บอนเครดิตประเภทปริมาณก๊าซที่ได้รับจัดสรร (AAUs carbon credit)" ที่จะนำไปซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอนได้ 

"คาร์บอนเครดิต" 
ไทยจะเข้าไปซื้อขายได้อย่างไร ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีคาร์บอนเครดิตประเภท "สิทธิในการปล่อย" (AAUs carbon credit) เพื่อไปขายในตลาดคาร์บอน แต่ก็มีคาร์บอนเครดิตอีกประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปมีส่วนร่วมได้นั่นคือ คาร์บอนเครดิตประเภทที่ "ลดปริมาณการปล่อยได้" ภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM project-bases carbon credit)

โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM : Clean Development Mechanism) เป็นกลไกที่พิธีสารเกียวโตสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สะดวกขึ้น โดยลงทุนโครงการที่ก่อให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา และนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ "ลด" ได้จากโครงการเหล่านี้ไปขอใบรับรองในรูปของ CERs (Certified Emission Reductions) ซึ่ง CERs นี้เองเป็นคาร์บอนเครดิตประเภทหนึ่งที่มีการซื้อขายในตลาดคาร์บอนและประเทศพัฒนาแล้วสามารถนำ CERs เหล่านี้ไปใช้เพื่อบรรลุ เป้าหมายการปล่อยก๊าซตามพันธกรณี

อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่า ผู้ที่จะมีสิทธิในการขาย CERs เหล่านี้ ก็คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ CERs ซึ่งได้แก่ เจ้าของหรือผู้ดำเนินโครงการ CDM นั่นเอง ส่วนรัฐบาลของประเทศที่เป็นตั้งโครงการของโครงการนั้นไม่ใช่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ CERs แต่สามารถ "เก็บ" เครดิตได้ แต่ก็ด้วยการ "ซื้อ" คาร์บอนเครดิตจากเจ้าของ CERs หรือในกรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนในโครงการ CDM เองเท่านั้น

มีข้อพึงสังเกตว่า ราคาคาร์บอนเครดิตประเภท CERs นั้น จะเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาคาร์บอนเครดิตประเภท AAUs เพราะราคา CERs ของโครงการ CDM นั้น จะต้องนำความไม่แน่นอนในผลของปริมาณก๊าซที่จะลดได้กับต้นทุนในการลงทุนโครงการรวมคำนวณเข้าด้วย

ในขณะที่คาร์บอนเครดิตประเภท AAUs นั้นไม่มีต้นทุนใดๆ เลยเพราะเป็นเครดิตที่ได้รับจากพันธกรณีพิธีสารเกียวโต (ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาอย่างเราไม่มีพันธกรณีเช่นว่านั้น) นั่นเอง


ลักษณะของโครงการ CDM
โครงการ CDM จะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ดำเนินโครงการ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเอกชน) รัฐบาล และชุมชน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลว่าโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับกฎหมายและนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศที่ตั้งโครงการ จะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม

และที่สำคัญจะต้องก่อให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นส่วนเพิ่มเติม (additionality) จากการดำเนินธุรกิจอันเป็นปกติ (business as usual) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

โครงการที่ควรได้รับการส่งเสริมได้แก่ ด้านพลังงาน เช่น โครงการพลังงานทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง การแปลงกากของเสียอุตสาหกรรมเป็นพลังงาน พลังงานหมุนเวียน การปรับปรุง/เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการแปลงขยะชุมชนเป็นพลังงาน โครงการแปลงน้ำเชียชุมชนเป็นพลังงาน ด้านการคมนาคมขนส่ง เช่น โครงการการพัฒนาประสิทธิภาพในการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

โครงการ CDM อาจเป็นได้ทั้งโครงการร่วม (bilateral) ระหว่างผู้ดำเนินโครงการจากประเทศพัฒนาแล้วกับผู้ดำเนินโครงการของประเทศกำลังพัฒนา หรือเป็นโครงการเดี่ยว (unilateral) โดยผู้ดำเนินโครงการเป็นเอกชนของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นที่ตั้งโครงการเพียงฝ่ายเดียวก็ได้

ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนอย่างน้อย 15 รายแล้วที่เริ่มดำเนินโครงการที่เข้าข่ายโครงการ CDM


ไทยจะได้อะไรจากโครงการ CDM
ถึงแม้โครงการ CDM ที่ลงทุนในประเทศไทยมีการ "ลด" ปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้จริงและได้รับการรับรองในรูปของ CERs ก็ตาม แต่ CERs จะไม่ส่งประโยชน์โดยตรงแก่ประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาและยังไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใดๆ

อย่างไรก็ตาม รายได้จากการขาย CERs ให้แก่ประเทศพัฒนาแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ดำเนินโครงการสามารถได้รับโดยการ "ขาย" CERs ซึ่งเป็นคล้ายๆ กับ by product ประเภทหนึ่งที่ได้จากการลงทุนและเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนได้ หากเรามัวแต่เก็บไว้สินค้าตัวนี้ก็จะกลายเป็นเพียงของเก่าเก็บที่ปราศจากมูลค่า

ส่วนประเทศไทยนั้น จะไม่ใช่ผู้รับประโยชน์โดยตรงในเชิงรายได้จากการขาย CERs เพราะประเทศไทยไม่ใช่เจ้าของ CERs (ยกเว้นแต่รัฐบาลไทยเป็นผู้ลงทุนดำเนินโครงการ CDM เอง) แต่สิ่งที่เราจะได้รับคือ สิ่งแวดล้อมของไทยจะดีขึ้น มีการเพิ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นในเชิงภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ

หลายคนกังวลว่า การซื้อขาย CERs นั้นจะทำให้ประเทศไทยเราไม่สามารถพัฒนาต่อได้ เพราะเราต้องหยุดกระบวนการผลิตที่ใช้ก๊าซเรือนกระจก แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับตรงกันข้าม เพราะนอกจากการซื้อขาย CERs จะไม่กระทบต่อศักยภาพของประเทศในการพัฒนาแต่อย่างใดแล้ว ยังจะทำให้เพิ่มและขยายการผลิตโดยไม่เพิ่มประมาณก๊าซเรือนกระจก (เพราะโครงการ CDM ทำให้เกิดการ "ลด" เพิ่มเติมจากกระบวนการปกติที่ปราศจากโครงการ CDM) ทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ (Value added) และสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพให้แก่เอกชนไทยมากขึ้นอีกด้วย

ที่สำคัญ ยิ่งมีโครงการ CDM มากเท่าไหร่ ย่อมหมายความว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในประเทศก็จะลดลงมากเท่านั้น ทำให้ตัวเลขของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยในประเทศไทยที่จะต้องปรากฏในรายงานแห่งชาติ (National Inventory) เพื่อเสนอต่อภาคีสมาชิกอื่นๆ นั้นลดลงเรื่อยๆ ทุกปี ซึ่งจะเป็นผลดีหากว่าประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ จะต้องถูกบังคับให้มีพันธกรณีในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในอนาคต

เพราะเราได้มีการเตรียมตัว ปรับตัว และพัฒนาเทคโนโลยีของเรามาในระดับหนึ่งแล้ว

สิ่งที่เรา "ไม่ควร" ทำ ประเทศไทยไม่ควรประวิงเวลาการอนุมัติโครงการ CDM เพราะนั่นหมายถึงการเสียโอกาส ทั้งทางธุรกิจของภาคเอกชนและทั้งทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ

หากเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ แล้วจะเห็นว่าในขณะนี้ประเทศไทยเสียโอกาสไปมากเหลือเกิน โดยขณะนี้มีโครงการที่ตั้งอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ได้รับการขึ้นทะเบียนในระดับสากลไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 269 โครงการ ทั้งในประเทศกำลังพัฒนายักษ์ใหญ่ เช่น จีน อินเดีย บราซิล หรือเม็กซิโก

หรือกระทั่งประเทศเล็กๆ อาทิ เวียดนาม บังกลาเทศ กัมพูชา หรือภูฏาน เป็นต้น ก็มีการอนุมัติโครงการ CDM ไปแล้วทั้งสิ้น คิดเป็นมูลค่า CERs ที่อาจขายได้กว่า 600 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 24,000 ล้านบาท) ต่อปี

จึงเป็นที่น่าเสียดายว่า ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในทุกๆ ด้านและน่าจะเป็น ideal site ของผู้ลงทุนในโครงการ CDM นั้น ประเทศไทยกลับอยู่ถึงลำดับรั้งๆ ท้าย

ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลยังล่าช้าและไม่มีทิศทางหรือนโยบายที่ชัดเจนในการพิจารณาอนุมัติโครงการ CDM นั่นเอง ที่ทำให้เราเสียโอกาสไปเป็นมูลค่ามหาศาล


สิ่งที่เรา "ควรทำ"

ประการแรก เพื่อไม่ให้เรา
เสียประโยชน์จากโครงการ CDM ทั้งชื่อเสียงที่ภาครัฐจะได้รับจากการที่สามารถทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศลดลง รวมทั้งประโยชน์ทางด้านรายได้ที่ผู้ดำเนินโครงการจะได้จากการขาย CERs ซึ่งขณะนี้โครงการได้เข้าข่ายอาจจะได้รับ CERs มีมูลค่าถึงประมาณ 14.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 550 ล้านบาทต่อปี)

รัฐบาลไทยควรเร่งส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงการ CDM ให้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุด แต่ต้องรอบคอบในการพิจารณาว่า โครงการ CDM นั้นจะต้องนำมาสู่การพัฒนา 3 ด้านด้วยกัน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (ต้องมีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซได้จริงและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน) ด้านเศรษฐกิจ (ต้องมีการลงทุนจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นปกติ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม) ด้านสังคม (ต้องให้สังคมหรือชุมชนที่ตั้งโครงการได้รับประโยชน์ หรือไม่ถูกกระทบในทางสิ่งแวดล้อมและสังคม)

หากช้าไป เราอาจพลาดโอกาส เพราะไม่มีใครทราบเลยว่าในอนาคตข้างหน้า ปริมาณก๊าซที่สามารถลดได้จากโครงการเหล่านี้จะยังสามารถได้รับการรับรองเป็น CERs ได้หรือไม่ หรือหากได้ CERs แล้วราคาในเวลานั้นจะเป็นอย่างไร เพราะตามหลักกลไกตลาดนั้น ยิ่งมี supply (CERS และ AAUs) ในตลาดมากเท่าไหร่ ขณะที่ demand คงที่ โอกาสที่ราคาคาร์บอนเครดิตจะลดลงยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้โครงการภายใต้กลไก CDM ของพิธีสารเกียวโตนี้เป็นโครงการเฉพาะกิจอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ 

ประการที่สอง รัฐพึงจะให้ข้อมูลตลอดจนทำความเข้าใจกับภาคเอกชนให้ทราบถึงประโยชน์ของ CDM และโอกาสที่เราสามารถขาย CERs เหล่านี้ไว้ เพื่อที่จะไม่เสียเปรียบหากมีการลงทุนร่วมกับต่างประเทศว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เหล่านี้มีราคาทั้งสิ้น ในการเจรจาธุรกิจใดๆ ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก เอกชนไทยควรตระหนักถึงเรื่องนี้และนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาแบ่งปันผลประโยชน์ด้วยเสมอจะได้ไม่เสียเปรียบผู้ลงทุนจากต่างประเทศ

ประการที่สาม รัฐควรจะเร่งหาและพัฒนาตลาดเพื่อที่จะให้เอกชนไทยสามารถซื้อขาย CERs ได้ในราคาที่เหมาะสมและยุติธรรม
บทสรุป ดังที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ บัดนี้ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ควรร่วมกัน "เดินสาย" ชี้แจงต่อภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้าใจอย่าง "ถ่องแท้" ถึง "ประโยชน์" และ "โอกาส" ที่เราจะได้รับจากการพัฒนาโครงการ CDM ซึ่งเป็นโครงการเดียวที่เราสามารถเข้าร่วมได้ภายใต้พิธีสารเกียวโต (เพราะเราไม่มีคาร์บอนเครดิตอย่างอื่นไปซื้อขายกับประเทศพัฒนาแล้ว)

เราจึงควรสนับสนุนโครงการ CDM และเปิดโอกาสให้มีเอกชนไทยได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากการขาย "เครดิต" ที่ได้จากโครงการ CDM เหล่านี้

อันจะทำให้ประเทศไทยของเราได้มาทั้ง "หน้า" และ "เงิน"


ผู้ค้า "คาร์บอนเครดิต" รายแรกของไทย


เปิดตัวเอกชนไทยรายแรก ที่ได้สิทธิ์ขายคาร์บอนเครดิตจากยูเอ็น ส่วนอีกหนึ่งโครงการ เผยใกล้ได้รับการรับรองแล้วเช่นกัน พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการที่ยังไม่ตัดสินใจ เข้าร่วมวง เหตุปัจจัยในประเทศพร้อม รัฐบาลกำลังให้การสนับสนุนเต็มที่ แถมยังได้รายได้จากคาร์บอนเครดิต และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ
ช่วงงานวันสิ่งแวดล้อมโลกปี 51 ระหว่างวันที่ 5-8 มิ.ย. ประเด็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกำลังมาแรง โดยวันที่ 6 มิ.ย.51 ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมเกาะติดวงเสวนา "Business Talk : Best Practice จากภาคเอกชน-การผลิตที่สะอาด การลดก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งมีเอกชนรายแรกของไทย ที่ได้สิทธิ์ค้าก๊าซเรือนกระจกจากยูเอ็นนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง
     นายนที สิทธิประศาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที.ไบโอพาวเวอร์ จำกัด ผู้จัดทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบมูลค่าการลงทุน 1,400 ล้านบาท เผยว่า เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.51 ที่ผ่านมา บริษัทฯ เพิ่งได้รับการรับรองจาก คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM EB) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ให้มีสิทธิ์ค้าคาร์บอนเครดิตได้เป็นแห่งแรกของประเทศ
สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่ 1 มค.47 ที่ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยกำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ เพื่อจ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าใน อ.บางมูลนาก โดยใช้เทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกามีประสิทธิภาพลดการปล่อยก๊าซก่อโลกร้อนได้ 70,772 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์/ปี หรือปริมาณรวมเกือบ 500,000 ตันภายในปี 2555 อันเป็นที่สิ้นสุดของพิธีสารเกียวโต
รัฐตั้งองค์กรก๊าซเรือนกระจก คุมขายคาร์บอนเครดิตCDM
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯเดินหน้าจัดตั้ง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) หลัง ครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เตรียมพิจารณาโครงการ CDM ที่จ่อคิวอยู่อีกเกือบ 20 โครงการ ขณะที่ บริษัทเอสจีเอส (ประเทศไทย) สวมบทเสือปืนไวได้รับการรับรองจากอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC) เป็นตัวกลางในการส่งต่อโครงการ CDM จาก อบก.ไปยัง CDM BE ขอรับรองการอนุญาตเปิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตต่อไป
การจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) พิจารณาให้การรับรอง โครงการ CDM ของไทย รวมถึงทำตลาดการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก การเป็นศูนย์ข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก

โดยองค์การจะมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม/ค่าบำรุง/ค่าตอบแทน หรือค่าบริการ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ขององค์การได้ และรายได้ขององค์การไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง

องค์การมหาชนดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มีคณะกรรมการองค์การเพื่อดูแล กิจการทั่วไปขององค์การ รวมถึงทำหน้าที่ในการสรรหา ผู้อำนวยการที่มีวาระในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยหลังจากที่มีการประกาศร่างดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็จะเริ่มจัดตั้งคณะกรรมการและสรรหาผู้อำนวยการมาบริหารองค์การได้ทันที